โทรศัพท์มือถือ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของน้ำพุร้อน

การใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนมีท้งโดยตรงและใชผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแหล่่งน้ำพุร้อนโดยใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำส่วนใหญ่ซึ่งต้องมีการสำรวจทั้งใต้ดินและผิวดิน

  • โรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำร้อนแห้ง (Dry Steam) กรณีแหล่งกักเก็บมีอุณหภูมิสูงมาก มีแต่ไอร้อนแห้ง (Dry Steam) ไอร้อนนี้จะถูกนำไปหมุนกังหันไอน้ำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า ส่วนไอที่เหลือจะถูกควบแน่นเป็นน้ำแล้วอัดคืนลงไปในแหล่งใต้ดิน
    โรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำร้อนที่แยกมาจากน้ำร้อน (Flash Steam) ใช้น้ำร้อนจากแหล่งกักเก็บที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ ส่งเข้า Flash Tank น้ำร้อนนี้จะแปรสภาพเป็นไอน้ำร้อนหมุนกังหันไอน้ำ และผลิตไฟฟ้าต่อไป

  • โรงไฟฟ้าระบบสองวงจร (Binary Cycle) ใช้ความร้อนจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมาทำให้ของเหลวพิเศษ (Working Fluid) กลายเป็นไอ และส่งไอนี้ไปหมุนกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อไป   เป็นที่นิยมในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศหนาว เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส โปแลนด์ ฮังการี ตุรกี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เป็นต้น มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่ในพื้นที่ขนาดเล็กโดยการเจาะหลุมในบริเวณเขตบ้านตน เอง ใช้ในโรงพยาบาล โรงเรียน ใช้ในสระว่ายน้ำไปจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ทั้งชุมชนหรือทั้งเมือง ในประเทศไอซ์แลนด์ ใกล้กรุงเรกยะวิก (Reykjavik) มีน้ำพุร้อนอยู่มากมายหลายแห่ง จัดอยู่ในบรรดาบ่อน้ำร้อนที่ร้อนที่สุดในโลก น้ำร้อนจะถูกส่งไปตามท่อเพื่อใช้ทำความอบอุ่นให้กับบ้านเรือน โรงพยาบาล โรงเรียน และอาคารสาธารณะต่างๆ ที่เมือง Beppu ต้นแบบหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของประเทศญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน เป็นเมืองที่มีน้ำพุร้อนในบริเวณมากกว่า 4,000 แห่ง มีการใช้น้ำพุร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นในอาคารและโรงงาน และมีสถานอาบน้ำแร่มากมายเพื่อบริการนักท่องเที่ยว ในขณะที่ Klamath Falls มลรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการต่อท่อน้ำร้อนใต้ทางเดินเท้าเพื่อไม่ให้น้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ทางเท้าลื่น นอกจากนี้ ในต่างประเทศมีการใช้ความร้อนใต้พิภพที่ระดับตื้น และมีอุณหภูมิเฉลี่ยสม่ำเสมอเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี (Geothermal Heat Pump) ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไปที่เหมือนกันเกือบทุกแห่งบนโลก โดยไม่ต้องมีแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่ ในหน้าหนาวสามารถปั๊มเอาความร้อนที่มีกักเก็บอยู่ใต้ดินมาทำความอบอุ่นภายใน อาคาร ขณะที่ในหน้าร้อนสามารถปั๊มเอาความเย็นที่ถูกกักเก็บไว้ใต้ดินเข้ามาในอาคาร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทความร้อนที่มีอยู่ในอาคารออกไป อาคารจึงเย็นลง 

  • การใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว ในหลายประเทศนิยมการแช่หรืออาบน้ำพุร้อนเนื่องจากบริเวณที่เกิดน้ำพุร้อน ส่วนใหญ่จะใกล้กับภูเขาไฟ หรือหินภูเขาไฟเก่า จึงมีซัลเฟอร์หรือกำมะถันติดขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรคผิวหนังได้ และยังมีแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคที่แตกต่างกันไป เช่น น้ำพุร้อนคาร์บอเนต (Carbonate Springs) น้ำพุร้อนเกลือ (Salt Springs) น้ำพุร้อนโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Saltine Sodium Hydrogen Carbonate Springs) อุณหภูมิน้ำพุร้อนที่เหมาะแก่การแช่หรืออาบจะอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ควรแช่น้ำพุร้อนวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยการชำระล้างร่างกาย 20 นาที และทำกายภาพบำบัดในน้ำพุร้อนอีก 10 นาที และแร่ธาตุต้องใช้เวลาซึมผ่านรูขุมขนประมาณ 6-7 ชั่วโมง ดังนั้นควรชำระร่างกายด้วยน้ำสะอาดหรือภายหลังจากอาบน้ำพุร้อนไปแล้ว 7 ชั่วโมง สระแช่น้ำแร่มีทั้งที่เป็นสระแช่ธรรมชาติ สระแช่เลียนแบบธรรมชาติ หรือในลักษณะของสระว่ายน้ำทั้งที่เป็นสาธารณะและห้องแช่ส่วนตัว ทั้งที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง (Outdoor) และในร่ม (Indoor)